Climate Science Glossary

Term Lookup

Enter a term in the search box to find its definition.

Settings

Use the controls in the far right panel to increase or decrease the number of terms automatically displayed (or to completely turn that feature off).

Term Lookup

Settings


All IPCC definitions taken from Climate Change 2007: The Physical Science Basis. Working Group I Contribution to the Fourth Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change, Annex I, Glossary, pp. 941-954. Cambridge University Press.

Home Arguments Software Resources Comments The Consensus Project Translations About Support

Bluesky Facebook LinkedIn Mastodon MeWe

Twitter YouTube RSS Posts RSS Comments Email Subscribe


Climate's changed before
It's the sun
It's not bad
There is no consensus
It's cooling
Models are unreliable
Temp record is unreliable
Animals and plants can adapt
It hasn't warmed since 1998
Antarctica is gaining ice
View All Arguments...



Username
Password
New? Register here
Forgot your password?

Latest Posts

Archives

ภาวะเครียดจากความร้อน: ขีดสูงสุดทีมนุษย์จะปรับตัวได้

การรณรงค์ด้านโลกร้อนโดยฝ่ายต่างๆ มักจะนำเสนอคล้ายๆ กันว่าถ้าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นถึง 6 องศาเซลเซียส ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศอย่างรุนแรงถึงขั้นหายนะแก่มนุษย์ชาติ ในรูปของความแห้งแล้ง ระดับน้ำทะเลและภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ที่หลายคนคงเคยได้เห็นมาบ้างแล้วจากเอกสารหรือโปสเตอร์เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อย่างไรก็ตามผลกระทบของอุณภูมิต่อภาวะเครียดเนื่องจากความร้อนที่มีต่อมนุษย์นั้น ก็สามารถใช้เป็นเกณฑ์ทางตรงของผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่อาจะทำให้บางคนเห็นภาพที่เป็นรูปธรรมมากกว่าการรับรู้ผลกระทบผ่านกระบวนการในทางอ้อมต่างๆ

บางคนอาจจะเชื่อว่ามนุษย์สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศใดๆ ก็ได้ ดังจะเห็นได้ว่ามนุษย์เราในปัจจุบันสามารถอยู่อาศัยได้ในเกือบทุกที่บนผิวพื้นโลกใบนี้ อย่างไรก็ตามรายวิจัยล่าสุดโดย Sherwood และ Huber (2010) เรื่อง An adaptability limit to climate change due to heat stress ได้คัดค้านความคิดนี้โดยนำเสนอว่าภาวะโลกร้อนขึ้นเพียงเล็กน้อยก็อาจจะทำให้ประชากรโลกจำนวนมากมีภาวะเครียดจากความร้อนสูงเพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และภาวะโลกร้อนที่เพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงนั้นจะนำไปสู่ภาวะที่มนุษย์สุดจะทานทนได้ให้หลายพื้นที่ของโลก

อุณหภูมิที่ผิวหนังของมนุษย์ถูกควบคุมให้ค่อนข้างคงที่ที่ประมาณ 35 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิของร่างกายจะต้องสูงกว่าอุณหภูมิของอากาศรอบข้างเพื่อให้ความร้อนสามารถระบายออกจากร่างกายได้ หรือถ้ากล่าวให้ถูกต้องก็คืออุณหภูมิของร่างกายจะต้องสูงกว่าอุณหภูมิของเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียก (TW) ซึ่งเป็นการวัดผลรวมของอิทธิพลของอุณหภูมิอากาศ ความชื้นและลมของ ณ ที่นั้นๆ โดย Sherwood และ Huber (2010) ประมาณว่า TW สูงสุดต่อเนื่อง 6 ชั่วโมงที่มนุษย์สามารถทนได้ก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 35 องศาเซลเซียสด้วยเช่นกัน ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้หรือร้อนต่อเนื่องนานกว่านี้ก็จะทำให้เกิดภาวะ hyperthermia ได้

ภาพที่ 1 แสดงถึงอุณหภูมิของโลกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (1999-2008) โดยเส้นสีดำแสดงถึงการกระจายสะสมของอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวพื้นโลก เส้นสีน้ำเงินแสดงถึงการกระจายสะสมของอุณหภูมิสูงสูงสุดและเส้นสีแดงแสดงถึงการกระจายสะสมของอุณหภูมิกระเปาะเปียก (TW) เส้นประแนวตั้งแสดงถึงค่าวิกฤติ 35 องศาสเซลเซียส ส่วนภาพแผนที่ด้านขวาแสดงถึง TW ณ จุดต่างๆ ของโลก

ภาพที่ 1 (A) การกระจายสะสมของอุณหภูมิเฉลี่ย (สีแดง) อุณหภูมิสูงสุด (สีน้ำเงิน) และอุณหภูมิกระเปาะเปียก (สีแดง) ของทั้งโลกในช่วงปี 1999-2008 (B) แผนที่แสดงอุณหภูมิกระเปาะเปียก (TW)

ในขณะที่การกระจายของอุณหภูมิอากาศของโลกมีช่วงกว้าง (ตั้งแต่น้อยกว่า 0 จนถึง 50 องศาเซลเซียส) อุณหภูมิกระเปาะเปียกมีช่วงการกระจายที่แคบกว่ามาก (อยู่ในช่วง 20-30 องศาเซลเซียส) ซึ่งแสดงว่าพื้นที่ทั้งหลายในโลกนี้มีคุณลักษณะด้านอุณหภูมิและความชื้นในองค์รวมที่คล้ายคลึงกัน โดยในพื้นที่ทะเลทรายซึ่งมีอุณหภูมิสูงก็จะมีความชื้นต่ำจึงทำให้ค่า TW ไม่สูงมากนัก ในขณะที่ในเขตขั้วโลกมีอุณหภูมิต่ำแต่ความชื้นในอากาศก็สูงยังช่วยให้ TW ไม่ต่ำลงมาก ซึ่งจะเห็นว่าในช่วงทศวรรษที่ผ่ามานี้ TW ในที่ใดๆ บนโลกแทบจะไม่เคยสูงกว่า 31 องศาเซลเซียส

ภาวะโลกร้อนจะทำให้ช่วงของการกระจายของ TW ขยับไปทางขวามากขึ้น ซึ่งSherwood และ Huber (2010) สรุปว่าถ้าอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 7 องศาสเซลเซียส จะทำให้ค่า TW ของโลกขึ้นสูงจนแตะ 35 องศาเซลเซียส และนั่นจะทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นจากระบวนการในร่างกายไม่สามารถระบายออกไปได้ และถ้าอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 11-12 องศาสเซลเซียส ก็เกือบจะไม่มีที่ใดบนโลกที่มนุษย์จะอาศัยอยู่ได้โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยเหลือ

ถึงแม้ว่าอุณหภูมิโลกคงจะไม่เพิ่มสูงถึงระดับที่วิกฤติโดยตรงของร่างกายของมนุษย์ งานวิจัยนี้ก็ช่วยชี้ให้เห็นว่าความเชื่อที่ว่ามนุษย์เราสามารถทนต่อความร้อนได้โดยดูแต่อุณหภูมิอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ เพราะจะต้องพิจารณาผลของความชื้นประกอบด้วยเนื่องจากปัจจัยทั้งสองร่วมกันส่งผลต่อการระบายความร้อนออกจากร่างกาย โดยเฉพาะในเขตภูมิอากาศร้อนชื้นผลจากการเพิ่มของอุณหภูมิก็จะรุนแรงกว่าในเขตร้อนแห้ง

Translation by anond. View original English version.



The Consensus Project Website

THE ESCALATOR

(free to republish)


© Copyright 2024 John Cook
Home | Translations | About Us | Privacy | Contact Us